มากกว่า “แก้ไอ” แต่ยังช่วยปกป้องปอดของเรา ด้วย 5 สมุนไพรพื้นบ้าน

2251 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รูปภาพบทความ มะขามป้อม

       “ปอด” คือ อวัยวะที่เป็นเสมือนเครื่องฟอกอากาศสำหรับร่างกายคนเรา หากปอดได้รับการกระทบกระเทือน หรือเกิดความผิดปกติจนปอดไม่สามารถทำหน้าที่ตามปกติได้ ย่อมส่งผลให้คุณภาพการหายใจของคนแย่ลงแน่นอน เกิดโรคต่างๆ ในระบบทางเดินหายใจตามมา ทั้งภูมิแพ้ ไอ เสมหะ รวมทั้งหอบหืดได้ด้วย ดังนั้น เมื่อเราเกิดอาการไอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ ซึ่งเป็นสัญญาณด่านแรกที่แสดงว่า ทางเดินหายใจของเรากำลังถูกโจมตีจากสิ่งก่อโรคทั้งหลาย เราจึงอาจเลือกใช้สมุนไพรที่จะดูแลระบบทางเดินหายใจ โดยช่วยทั้งแก้อาการไอที่เกิดขึ้น และช่วยบำรุงดูแลปอดให้แข็งแรงไปพร้อมกันได้ง่ายๆ ดังนี้ ได้แก่
 
มะขามป้อม              แก้ไอ ระคายคอ

มะแว้งเครือ             ลดเสมหะ ลดหอบหืด

มะขาม                      ต้านอนุมูลอิสระ ต้านโรค

พระจันทร์ครึ่งซีก    ปกป้องตับ บำรุงปอด

ส้มกุ้ง                       ต้านเชื้อ แก้ไอ
 
 
มะขามป้อม              
 
“แก้ไอ ระคายคอ”

(ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica L.)

       เป็นที่ทราบกันดี ถึงสรรพคุณทางยาของผลไม้รสเปรี้ยวชนิดนี้ ว่าช่วยบรรเทาอาการไอ ระคายคอ และยังอุดมไปด้วยวิตามินซี ที่ช่วยเสริมภูมิต้านทานต่อต้านอาการหวัดลงคอได้ดีอีกด้วย

       ในตำรายาโบราณ พบว่ามีการนำมะขามป้อมมารับประทานเพื่อแก้ไอ ซึ่งปกติตัวผลมะขามป้อม มีรสเปรี้ยวฝาดขม การนำมารับประทานจึงมักจะนำเนื้อผล 2-3 ผล โขลกพอแหลก แล้วจิ้มเกลือเล็กน้อย แล้วอมหรือเคี้ยว วันละ 3-4 ครั้ง โดยสามารถใช้ร่วมกับสมุนไพรแก้ไอชนิดอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น มะแว้งเครือ มะขาม พระจันทร์ครึ่งซีก และส้มกุ้ง เป็นต้น
 
มะแว้งเครือ

“ลดเสมหะ ลดหอบหืด”

(ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum trilobatum L.)

​       มะแว้งเครือ หรือชื่ออื่นๆ เช่น แขว้งเคีย ตาก จัดเป็นพืชในตระกูลมะเขือ มีรสขมขื่นเปรี้ยว จึงมักถูกนำมาใช้เป็นยาแก้ไอ แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ เช่นเดียวกับสมุนไพรรสเปรี้ยวอื่นๆ โดยในตำรายาพื้นบ้านของไทย มะแว้งเครือถูกนำมาใช้ในตำรับยาแก้ไอ ไม่สบายคอ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอาการหวัด รวมถึงมีการศึกษาที่พบว่า มะแว้งเครือมีสรรพคุณที่เทียบเท่ากับการใช้ยา เพื่อช่วยควบคุมอาการหอบหืดที่ไม่รุนแรงได้ด้วย
 
มะขาม

“ต้านอนุมูลอิสระ ต้านโรค”

(ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica L.)

       มะขาม ผลไม้รสเปรี้ยวที่รู้จักกันทั่วไป อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในทุกส่วนของต้น นิยมนำมารับประทานสดๆ หรือปรุงอาหารและทำขนมได้หลากหลายเมนู สรรพคุณตามตำรายาไทยของมะขาม เช่น ขับเสมหะ แก้ไอ ขับเลือดลม ฟอกโลหิต โดยสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่พบในส่วนต่างๆ ของมะขามล้วนแต่แสดงฤทธิ์ทางยาแตกต่างกันไป เช่น ต้านการอักเสบ ต้านเบาหวาน ลดไขมันในเลือด ซึ่งมีประโยชน์ต่อการนำมาพัฒนาเป็นยาสำหรับรักษาโรคต่อไป
 
พระจันทร์ครึ่งซีก​

“ปกป้องตับ บำรุงปอด”

(ชื่อวิทยาศาสตร์ Lobelia chinensis  Lour.​)

       “พระจันทร์ครึ่งซีก” หรือ เรียกกันอีกชื่อว่า บัวครึ่งซีก สมุนไพรพื้นบ้านที่ถูกพบว่ามีสรรพคุณทางยามากมาย ไม่เพียงแต่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ แต่จากการศึกษาพบว่า ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยปกป้องความเป็นพิษที่จะเกิดต่อตับได้ด้วย โดยการใช้ประโยชน์ตามตำรายาไทยของพระจันทร์ครึ่งซีก ให้ใช้ต้นสด กินเป็นยาบำรุงปอด แก้วัณโรค และแก้หอบหืด ส่วนในตำรายาจีน นำมาใช้เป็นยาแก้ไข้ ดับพิษร้อน ออกฤทธิ์ต่อม้าม กระเพาะ และลำไส้ รวมถึงใช้เป็นยาบำรุงปอด แก้หอบหืดได้ด้วย
 
ส้มกุ้ง

“ต้านเชื้อ แก้ไอ”

(ชื่อวิทยาศาสตร์ Ampelocissus martini Planch.​)

       ส้มกุ้ง ส้มกุ่ย หรือ เถาวัลย์ขน เป็นพืชไม้เถาเลื้อยประจำถิ่นชนิดหนึ่ง ที่มีผลสดทรงกลมเป็นพวงแน่นแบบพวงองุ่น ทำให้เรียกอีกชื่อตามลักษณะดังกล่าวนี้ได้ว่า องุ่นป่า (wild grape) จัดว่าเป็นพืชที่อุดมด้วยสารพฤกษเคมี ทั้งสารกลุ่มฟินอลิค และฟลาโวนอยด์ ที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ และต้านเชื้อแบคทีเรียได้ดี โดยตามตำรายาไทย ส้มกุ้ง หรือ องุ่นป่า ถูกนำมาใช้เป็นยารักษาหลากหลายอาการ ทั้งเป็นยาแก้ไอ แก้ช้ำใน หอบหืด ขับฟอกโลหิตระดู รวมถึงใช้เป็นยาระบายอ่อนๆได้ด้วย

       ปัจจุบัน เราสามารถพบตำรับยาที่รวม 5 คุณค่าสมุนไพร ในรูปแบบยาน้ำที่รับประทานง่าย เพื่อสะดวกต่อการดูแลร่างกายเมื่อมีอาการไอ หรือมีเสมหะได้ง่ายๆ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้