“ขมิ้นชัน” บรรเทาอาการปวดเข่า ปวดข้อ ลดการอักเสบ

1446 จำนวนผู้เข้าชม  | 

“ขมิ้นชัน”  บรรเทาอาการปวดเข่า ปวดข้อ ลดการอักเสบ

ขมิ้นชัน (Turmeric)

       ขมิ้นชันมีสารสำคัญในกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ (curcuminoids) สามารถช่วยลดสารอักเสบ บรรเทาอาการปวดของโรคข้อเข่าต่าง ๆ เช่น ลดอาการข้อยึดข้อติดที่มักพบหลังตื่นนอน และช่วยลดอาการบวมในข้อ ช่วยให้ผู้ป่วยเดินเหินได้นานขึ้น  นอกจากนี้ขมิ้นชันยังมีความเป็นพิษต่ำ จึงถูกนำมาพัฒนาใช้เป็นทางเลือกในการบรรเทาอาการอักเสบของข้อในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม เก๊าท์และรูมาตอยด์นั้นเอง

 

      ที่สำคัญ “เคอร์คิวมินอยด์” ยังจัดว่าสารอาหารที่อยู่ในสมุนไพร จึงไม่มีผลข้างเคียงจากการรับประทานในระยะยาว เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาแพ้ยาเคมีต่าง ๆ

 

กลไกลของขมิ้นชันในการรักษาอาการอักเสบ

       ขอบคุณภาพจาก: ยาน่ารู้. โรงพยาบาลพระปกเกล้า

       ขมิ้นชัน มีกลไกต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ผ่านกลไกการยับยั้ง platelet-activatingfactor, arachidonic acid และยับยั้งการสร้าง thromboxane ที่เป็นสารที่สร้างจากเกล็ดเลือด มีคุณสมบัติทำให้เกร็ดเลือดจับติดกันในการเกิดเป็นลิ่มเลือดและทำให้เส้นเลือดหดตัว ซึ่งการเกาะกลุ่มกันของเกล็กเลือดจะนำไปสู่การอักเสบบริเวณข้อต่างๆ ในร่างกาย หากใช้ขมิ้นชันในการรักษาอาการอักเสบจะมีกลไกยับยั้งการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดในการช่วยลดการอักเสบดังที่กล่าวไป

 

ข้อควรระวัง

       1. สตรีมีครรภ์ควรระมัดระวังยกเว้น ภายใต้การดูแลของแพทย์ของการตั้งครรภ์ แต่ไม่มีผลต่อการตกไข่
       2. ผู้ที่มีภาวะขาดธาตุเหล็กควรรับประทานอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการรับประทานขมิ้นในปริมาณสูงอาจลดการดูดซึมธาตุเหล็ก
       3. ผู้ที่เป็นนิ่วในท่อน้ำดีหรือมีปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดี ควรหยุดใช้ขมิ้นรูปแบบต่าง ๆ เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง
       4. ผู้ชายที่ประสงค์จะมีบุตรควรรับประทานด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากขมิ้นอาจลดระดับฮอร์โมนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิในน้ำเชื้อในผู้ชาย

 

นอกจากนี้การใช้ขมิ้นชันเป็นเวลานานๆ

       สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด งุ่นง่าน หรือตื่นกลัว เป็นต้น จึงไม่ควรรับประทานขมิ้นชันติดต่อกันเกิน 8 เดือน และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขมิ้นในปริมาณมากหรือเข้มข้นสูง(มากกว่า 1,500 มิลลิกรัมขึ้นไปต่อวัน) เพราะอาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ แต่ยังไม่มีความชัดเจนถึงผลข้างเคียงนี้

หากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ สามารถทักมาคุยกันได้ที่เฟสบุค Saithong ได้เลยค่าา^^


ขอบคุณแหล่งงานวิจัยอ้างอิงจาก

1. มหาวิทยาลัยมหิดล

2. โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี

3. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้