3679 จำนวนผู้เข้าชม |
กิกเก้ สมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้ในแถบเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น มีการใช้มานานหลายศตวรรษ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อของ “ดอกบอลลูน” เนื่องจากรูปทรงของดอกตอนตูมคล้ายบอลลูนนั่นเอง
รากกิกเก้ถูกนำมาใช้ในรูปแบบของอาหารและยา สามารถใช้ในการบรรเทาอาการ อาการไอ หลอดลมอักเสบ โรคหอบหืด โรคปอดบวม แถมยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อที่ก่อโรคโควิดได้ด้วยนะคะ แล้วกิกเก้มีกลไกการทำงานในระบบทางเดินหายใจอย่างไร ช่วยเรื่องโควิดได้อย่างไร ทำไมถึงช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ เรามาดูกันเลยค่ะ
หนึ่งในคุณสมบัติหลักที่กิกเก้ช่วยบรรเทาอาการทางเดินหายใจ คือ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ การอักเสบเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่อการบาดเจ็บ หรือการติดเชื้อ หากเราปล่อยให้เกิดการอักเสบในร่างกายนานๆ จนกลายเป็นการอักเสบเรื้อรัง อาจนำไปสู่โรคระบบทางเดินหายใจได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคหอบหืด โรคปอดบวม COPDหรือโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังนั่นเอง
การศึกษาของเว่ยเกา Gao W et al. (2017) พบว่า กิกเก้ช่วยป้องกันปอดจากควันบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญ โดยการยับยั้งการผลิตไซโตไคน์ที่ทำให้เกิดการอักเสบจากควันบุหรี่ ไซโตไคน์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ ถ้าจะพูดกันให้เห็นภาพได้ชัดคือ หากเราทานกิกเก้ ตัวสารสำคัญในกิกเก้จะถูกดูดซึมเข้าไปลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบในลำคอ ทำให้ลดอาการไอ ลดอาการเจ็บคอได้นั่นเอง
ยิ่งไปกว่านั้น กิกเก้ยังมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีผลต่อการบรรเทาอาการของโรคในระบบทางเดินหายใจ ความไม่สมดุลของอนุมูลอิสระ (Oxidative stress) เป็นตัวการสำคัญในการที่จะทำให้โรคระบบทางเดินหายใจกำเริบขึ้น เนื่องจากอนุมูลอิสระจะไปทำลายเยื่อบุผิวทางเดินหายใจ และทำให้การทำงานของปอดบกพร่อง กิกเก้มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากมี ฟลาโวนอยด์ กรดฟีนอล และซาโปนิน ตัวอย่างเช่น งานศึกษาของยุนจองจี Yun-Jeong Ji et al. (2021) พบว่าสารสกัดของกิกเก้เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ เช่น superoxide dismutase (SOD) และ catalase (CAT) ซึ่งช่วยลดการผลิตอนุมูลอิสระ ได้อย่างมีนัยสำคัญ
และในปี 2021 ที่ผ่านมา Experimental & Molecular Medicine (วารสารการแพทย์จากประเทศเกาหลี) ได้ตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับสารสำคัญในกิกเก้ช่วยป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (เชื้อก่อโรคโควิด 19) จากช่องทาง lysosome และ TMPRSS2+ โดยการขัดขวางการหลอมรวมกันของเยื่อบุเซลล์มนุษย์และเยื่อบุเซลล์ของไวรัส
อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ ดูจากภาพ A2 นะคะ หากเชื้อไวรัสบิดลูกบิดประตู(ลูกบิดประตูคือโปรตีนบนเยื่อบุเซลล์มนุษย์ที่ชื่อ ACE2) เข้ามาในเยื่อบุเซลล์มนุษย์แล้ว กิกเก้จะไปล็อคประตูบนเยื่อบุเซลล์ที่ไวรัสนั้นใช้หุ้มตัวไว้ ทำให้ไวรัสออกมาไม่ได้ ไม่สามารถเพิ่มจำนวนต่อไปได้
ส่วนภาพ B1 คือ เยื่อบุเซลล์ของเราที่ไม่มีกิกเก้เคลือบอยู่ ไวรัสจะไขลูกบิดประตู 2 บานนี้เข้ามา(โปรตีนบนเยื่อบุเซลล์มนุษย์ที่ชื่อ ACE2 และ TMPRSS2) ถอดเสื้อคลุม(Membrane fusion เป็นการรวมกันของเยื่อบุเซลล์มนุษย์กับเยื้อหุ้มของไวรัส) แล้วเอาตัวเองเข้ามาในเซลล์ของเราเพื่อเพิ่มจำนวนไวรัสในร่างกายเราต่อไป
สุดท้ายภาพ B2 คือ กิกเก้ที่เคลือบบนเยื่อบุเซลล์ของเรา กิกเก้ไปล็อคประตูทางเข้าของไวรัสไว้ ทำให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ในร่างกายเราไม่ได้ Tai Young Kim et al.(2021)
ขอบคุณภาพจาก: ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน
อย่างไรก็ตามยังมีประตูบานอื่นอีกที่ไวรัสสามารถไขเข้ามาในเซลล์เราได้ เพราะไวรัสมีกุญแจ(Spike protein หรือ หนามบนผิวไวรัส)อยู่หลายดอก การทานกิกเก้จึงไม่ได้ช่วยให้ไวรัสไม่เข้าสู่เซลล์เราได้100% กิกเก้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยลดโอกาสที่ไวรัสจะเข้าสู่เซลล์ของเราเท่านั้น สิ่งสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อได้มากยังคงเป็นการใส่หน้ากากอนามัยและไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง และให้สมุนไพรเป็นตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกันอยู่ข้างๆคุณควบคู่กันไปค่ะ^^
โดยสรุปแล้ว กิกเก้จัดว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยดูแลระบบทางเดินหายใจ มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ลดโอกาสที่ไวรัสที่ก่อโรคโควิดเข้าสู่เซลล์ ช่วยบรรเทาอาการของโรคระบบทางเดินหายใจต่างๆ เช่น อาการไอ เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ หอบหืด และปอดบวมได้ หากต้องการอ่านข้อมูลงานวิจัยเพิ่มเติม สามารถดูได้จากข้อมูลอ้างอิงท้ายบทความนี้ได้เลยค่ะ ทั้งนี้ในบทความผู้เขียนใช้คำเปรียบเทียบ เพื่อแทนคำศัพท์ยากๆให้เข้าใจง่ายขึ้น
หากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ สามารถทักมาคุยกันได้ที่ไลน์แอดได้นะคะ (LINE ID: @healthyclub) หรือทางช่องทางเฟสบุค Saithong ได้เลยค่าา^^
ขอบคุณแหล่งงานวิจัยอ้างอิงจาก
1. Gao W et al. Platycodin D protects against cigarette smoke-induced lung inflammation in mice. Int Immunopharmacol. 2017 Jun. Access online: https://doi.org/10.1016/j.intimp.2017.03.009
2. Yun-Jeong Ji et al. Crude Saponin from Platycodon grandiflorum Attenuates Aβ-Induced Neurotoxicity via Antioxidant, Anti-Inflammatory and Anti-Apoptotic Signaling Pathways. Antioxidants (Basel). 2021 Dec. Access online: https://doi: 10.3390/antiox10121968
3. Tai Young Kim et al. Platycodin D, a natural component of Platycodon grandiflorum, prevents both lysosome- and TMPRSS2-driven SARS-CoV-2 infection by hindering membrane fusion. Exp Mol Med. 2021 May. Access online: https://doi: 10.1038/s12276-021-00624-9