ผักที่มีไซยาไนด์ตามธรรมชาติ

2122 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผักที่มีไซยาไนด์ตามธรรมชาติ

ไซยาไนด์มาจากไหน?

แหล่งกำเนิดไซยาไนด์มี 2 เส้นทางหลักๆ คือ ไซยาไนด์ตามธรรมชาติ และไซยาไนด์ที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา

ไซยาไนด์ตามธรรมชาติ เป็นสารเคมีที่สามารถเกิดขึ้นได้เอง อาจเกิดจากการทำปฏิกิริยาของสารเคมีต่างๆในธรรมชาติ พบในพืชกว่า 1,000 ชนิด และจุลินทรีย์มากกว่า 90 สายพันธุ์ที่สามารถสังเคราะห์ไซยาไนด์ได้

พืชทางการเกษตรที่มีไซยาไนด์เป็นองค์ประกอบ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวฟ่าง หน่อไม้ ข้าวโพด อัลมอนด์ เป็นต้น ส่วนสัตว์พบในแมลงหลายชนิด เช่น ตะขาบ กิ้งกือ แมลงปีกแข็ง ผีเสื้อ เป็นต้น แมลงเหล่านี้สามารถสร้างไซยาไนด์และปล่อยออกมาเพื่อป้องกันอันตรายจากศัตรู

ส่วนที่เป็นข่าวคดี “แอมไซยาไนด์” คือไซยาไนด์สังเคราะห์ ที่สำหรับใช้ในอุสาหกรรมพลาสติก ผลิตสีย้อม สกัดแร่ทอง สารทำความสะอาดโลหะ ยาฆ่าแมลง ยาเบื่อหนู เป็นต้น

 

อาการเมื่อได้รับไซยาไนด์

หากได้รับสารในปริมาณมาก  จะมีอาการหายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ ชัก หมดสติ หัวใจหยุดเต้น ผิวหนังกลายเป็นสีม่วง

หากได้รับสารในปริมาณน้อย จะมีอาการ ปวดศีรษะ หน้าแดง ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นแดง

 

ความเป็นพิษของไซยาไนด์ในรูปแบบสังเคราะห์จะรุนแรงมากกว่า หากได้รับสารตอนท้องว่างในปริมาณเพียง 0.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะทำให้เสียชีวิตได้ในไม่กี่นาที แต่หากได้รับสารนี้ตอนที่มีอาหารเต็มท้อง จะทำให้เสียชีวิตได้ในหน่วยชม.

อย่างไรก็ตาม ไซยาไนด์ในพืชก็ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะเคยมีเหตุการณ์เด็กเล็กวัย 3 ขวบกินมันสำปะหลังดิบเข้าไปเกือบหมดหัว จากนั้นมีอาการชัก ดิ้น น้ำลายฟูมปาก หัวใจเต้นช้า และเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ฉะนั้นเราควรระวังไซยาไนด์ที่มาจากพืชด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างพืชผักที่มีไซยาไนด์

ผักที่มีไซยาไนด์ ได้แก่ มันสัมปะหลัง, หน่อไม้, ผักเสี้ยน, ผักหวาน, ชะอม, ผักไชยา(คะน้าแม็กซิโก, ต้นผงชูรส), ผักกุ่มหรือผักก่าม หากจะให้ปลอดภัยจากไซยาไนด์ ต้องปรุงให้สุก หรือผ่านการหมักดองก่อนนำมารับประทาน

มันสำปะหลังและหน่อไม้หากนำมาต้มเดือดประมาณ 10 นาที จะสามารถลดระดับไซยาไนด์ได้ถึง 80% ส่งที่ยังคงเหลือหลังถูกความร้อนไปแล้ว จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกายเนื่องจากเป็นปริมาณที่น้อยมาก 

ส่วนผักเสี้ยน, ผักกุ่ม ทางภาคอีสานนิยมนำมาดอง ซึ่งเป็นวิธีการรับประทานที่ปลอดภัยแล้ว


 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไซยาไนด์. กลุ่มเทคโนโลยีโลหวิทยา สำนักอุตสาหกรรมพื้นฐาน

ไซยาไนด์. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ข่าวแอมไซยาไนด์. BBC NEWS ไทย

ข่าวเด็กกินมันสำปะหลัง. ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้