1504 จำนวนผู้เข้าชม |
การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
อากาศ
อากาศบริสุทธิ์ คือ อาหารชั้นดีของปอด เมื่อปอดได้อาหารที่ดี(ออกซิเจน) ปอดก็จะส่งอาหารที่ดีส่งต่อไปยังเม็ดเลือดให้ลำเลียงอาหารที่ดีไปปรุง(ใช้)ต่อทั่วร่างกาย
ในทางกลับกัน หากเราได้รับอากาศไม่บริสุทธิ์ เช่น การสูบบุหรี่หรือการได้รับควันบุหรี่ ก็เหมือนกับการที่เราเอาของเสียเข้าร่างกาย หากในบ้านเรามีของเสียสะสมอยู่วันละนิดละหน่อยบ่อยๆเข้าคงไม่น่าอยู่ใช่มั้ยคะ ร่างกายเราก็เช่นกัน
การจัดการเรื่องอากาศได้แก่
1 จัดที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงานให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก
2 ฝึกหายใจเข้าออก ลึกๆ ช้าๆ (ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก)เป็นการส่งเสริมการลำเลียงออกซิเจนให้เข้าสู่เซลล์ได้ดีขึ้น
อาหาร
1 รับประทานอาหารปรุงสุก ย่อยง่าย
2 เคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อไม่ให้เป็นภาระหนักของร่างกายในการย่อยอาหาร
3 เน้นสมุนไพรเสริมในมื้ออาหาร เพื่อช่วยในกระบวนการย่อยอาหารให้สมบูรณ์ ในกรณืบุคคลที่ชอบอาหารที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์ หรือในผู้สูงอายุที่ไฟธาตุ(น้ำย่อย)น้อยลงแล้ว สมุนไพรทีอยู่ในส่วนประกอบของมื้ออาหารที่ช่วยในการส่งเสริมกระบวนการย่อยอาหารคือสมุนไพรในเครื่องแกงอาหารไทย เช่น ขิง ข่าตะไคร้ หอมแดง กะเพราะ เป็นต้น
4 หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ให้คุณค่าทางอาหารน้อย เช่น อาหารกระป๋อง อาหารที่มีน้ำตาลสูง มีไขมันอิ่มตัวสูง อาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด ของมัน ของทอด อาหารเหล่านี้จะทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีประสิทธิภาพลดลง
5 นอกจากอาหารแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่งาที่จะนำเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารคือ น้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร หรือตามสูตรปริมาณการคำนวนน้ำหนักตัว ให้เพียงพอต่อ (ควรหลีกเลี่ยงน้ำเย็น) การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบน้ำเหลืองในการกำจัดของเสียและเชื้อโรคให้ทำงานได้ดีขึ้น และช่วยคงสภาพการทำหน้าที่ของเยื่อบุ ซึ่งเป็นด่านแรกในการดักจับเชื้อโรค
อารมณ์
1 ความเครียดเรื้อรังส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากเมื่อเรามีความเครียดเพิ่มขึ้น ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เพิ่มขึ้นตาม ส่งผลให้กระบวนการผลิตเม็ดเลือดขาวลดลง
2 ความเครียดเรื้อรัง ส่งผลให้ร่างกายใช้วิตามินบีและซีเพิ่มขึ้น
3 ความเครียดส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร เนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติกจะทำงานเพิ่มขึ้น เลือดจะไหลเวียนมาที่ทางเดินอาหารลดลง ทางเดินอาหารบีบตัวลดลง การหลั่งเอนไซม์ย่อยอาหารลดลง ทำให้ระบบการย่อยและการดูดซึมอาหารไม่สมบูรณ์ ซึง่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมา เช่น ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จะช่วยดูแลฟื้นฟูร่างกาย การหมักของอาหารในลำไส้จากการย่อยไม่สมบูรร์ ก่อให้เกิดของเสีย ส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยตามมา เช่น อาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ระบบจุลินทรีย์ในร่างกายเสียสมดุล มีกลิ่นตัว เป็นต้น
ดังนั้น เราควรปรับอารมณ์และจิตใจให้ผ่อนคลายตามวิธีที่ตนเองสนใจ เช่น นั่งสมาธิ ฝึกสติ ออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ ฟังเพลง เป็นต้น
การนอนหลับ
1 การเข้านอนไม่เป็นเวลา นอนดึก(หลัง 5ทุ่ม) ระบบภูมิคุ้มกันจะได้รับผลกระทบ กระบวนการวซ่อมแซมร่างกายในร่างกายจะไม่สมบูรณ์ ทำให้เวลาตื่นนอนจะมีอาการเพลีย นอนไม่อิ่ม ไม่เฟรช
2 การนอนดึก นอนน้อย หลับไม่สนิท ส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกันอย่างมาก เพิ่มโอกาสติดเชื้อและทำให้เป็นหวัดได้ง่าย
3 การอดนอนส่งผลให้เม็ดเลือดขาวชนิด natural killer cell และเม็ดเลือดขาวชนิด T helper cell มีจำนวนลดลง ทำให้มีการอักเสบในร่างกายเพิ่มขึ้น
4 การนอนหลับที่เพียงพอ 7-9 ชั่วโมง ในสัปดาห์ก่อนได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ช่วยให้ร่างกายสร้างสารภูมิต้านทานได้ดีกว่าผู้ที่อดนอน
5 หากร่างกายเจ็บป่วย เช่น เป็นหวัด ระบบภูมิคุ้มกันจะกระตุ้นให้ร่างกาย ง่วงนอน อยากพัก เพื่อให้ร่างกายได้พักฟื้นตัวจากความเจ็บป่วย
สมุนไพร
บางครั้งแม้ว่าเราจะดูแลร่างกายเป็นอย่างดี เราก็ยังคงมีโอกาสเจ็บป่วยได้ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนอย่างหวัด เป็นโรคที่พบบ่อยในทุกเทศทุกวัย สมุนไพรมีบทบาทช่วยส่งเสริมสุขภาพในหลายด้าน เช่น
1 เสริมภูมิคุ้มกัน
2 บำรุงปอด
3 บรรเทาอาการหวัด
4 ช่วยขับของเสีย ขับเสมหะ ขับเหงื่อ
5 ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ/เซลล์
ออกกำลังกาย
การออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการคาร์ดิโอหรือเวทเทรนนิ่ง ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการหมุนเวียนของเซลล์ภูมิคุ้มกันที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ David C. Nieman, DrPH สมาชิกของมหาวิทยาลัย American College of Sports Medicine และศาสตราจารย์ภาควิชาชีววิทยาที่ศูนย์วิจัย North Carolina Research Campus ของ มหาวิทยาลัย Appalachian State University ได้ตีพิมพ์บทความวิชาการซึ่งเป็นหัวข้อในวรสาร “Exercise Immunology Review” การเคลื่อนไหว โดยเฉพาะการออกกำลังกายความเข้มข้นระดดับปานกลางจนถึงระดับสูงเป็นเวลา 30 นาที จะกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันตัวสำคัญๆ ให้ออกมาทำงาน (neutrophil, monocyte, NK cell, T cell) โดยใช้วิธีดึงเซลล์เหล่านั้นออกจากแหล่งผลิตรอบนอก (ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ไขกระดูก) แล้วให้เข้ามายังระบบเลือดกับท่อน้ำเหลือง ซึ่งจะทำให้เซลล์หมุนเวียนทั่วร่างกายได้ในอัตราที่สูงกว่าปกติ การหมุนเวียนที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้เซลล์ตรวจหาไวรัสและแบคทีเรียได้ดียิ่งขึ้น การออกกำลังกายยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์แมคโครฟาจได้อีกด้วย