ขมิ้น บำรุงปอด

13101 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รูปภาพบทความ ขมิ้นชัน

ขมิ้น 

      ขมิ้นชัน (Turmeric) หรือขมิ้น เป็นพืชที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อของเหง้ามีสีเหลืองเข้มไปจนถึงสีแสดเอกลักษณ์ที่เด่นชัด คือ รสชาติที่จัดจ้าน สีสันมีความสวยงาม อีกทั้งยังได้มีการนำเอาสมุนไพรมาประยุกต์ผสมผสานลงไปในอาหารไทย ทำให้ได้รสชาติที่ดูแตกต่างแต่ลงตัว เมื่อพูดถึงเรื่อง สมุนไพร ที่คนไทยนิยมนำมาทำอาหาร เราคงจะพลาดที่จะเอ่ยถึง ขมิ้นชัน ไม่ได้ เพราะว่าเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่ทำให้อาหารมีสีสันสะดุดตา ตลอดจนมีสรรพคุณทางยาที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มพูนเป็นลำดับถัดมาจากความอร่อย ตอนนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพรชนิดกันให้มากขึ้น เพราะเหตุใดจึงเป็นที่นิยม และประโยชน์ที่ได้จากสมุนไพรชนิดนี้มีอะไรบ้าง หากพร้อมแล้วมาเริ่มเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน

สรรพคุณ:

           ตำรายาไทย: ใช้ภายใน ช่วยเจริญอาหาร ยาบำรุงธาตุ ฟอกเลือด แก้ท้องอืดเฟ้อ แน่น จุกเสียด ลดน้ำหนัก ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาการดีซ่าน แก้อาการวิงเวียน แก้หวัด แก้อาการชัก ลดไข้ ขับปัสสาวะ รักษาอาการท้องมาน แก้ไข้ผอมแห้ง แก้เสมหะและโลหิตเป็นพิษ โลหิตออกทางทวารหนักและเบา แก้ตกเลือด แก้อาการตาบวม แก้ปวดฟันเหงือกบวม มีฤทธิ์ระงับเชื้อ ต้านวัณโรค ป้องกันโรคหนองใน แก้ท้องเสีย แก้บิด รักษามะเร็งลาม ใช้ภายนอก ช่วยลดอาการฟกช้ำบวม ปวดไหล่และแขนบวมช้ำและปวดบวม แก้ปวดข้อ สมานแผลสดและแผลถลอก ผสมยานวดคลายเส้นแก้เคล็ดขัดยอก แก้น้ำกัดเท้า แก้ชันนะตุ แก้กลากเกลื้อน แก้โรคผิวหนังผื่นคัน สมานแผล รักษาฝี  แผลพุพอง  ลดอาการแพ้  อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย  ตำใส่แผลห้ามเลือด รักษาผิว บำรุงผิว สรรพคุณและประโยชน์ของขมิ้นชัน

       นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา  ปรากฏการใช้ขมิ้นชัน ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ตำรับ ”ยาเหลืองปิดสมุทร” มีส่วนประกอบของขมิ้นชันเป็นองค์ประกอบหลัก ร่วมกับสมุนไพรอื่นอีก 12 ชนิดในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปน และท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้ นอกจากนี้ยังจัดอยู่ในบัญชียาพัฒนาจากสมุนไพรที่สามารถใช้เดี่ยว เพื่อบรรเทาอาการแน่น จุกเสียด


รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:

           ใช้ภายใน (ยารับประทาน):

             - ยาแคปซูลที่มีผงเหง้าขมิ้นชันแห้ง 250 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 2-4 แคปซูล วันละ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน  อาจปั้นเป็นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง

             - เหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว ขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาดตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง

           ใช้ภายนอก:

             - ใช้เหง้าขมิ้นแก่สดฝนกับน้ำสุก หรือผงขมิ้นชันทาบริเวณที่เป็นฝี แผลพุพอง หรืออักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย

             - เหง้าแก่แห้ง บดเป็นผงละเอียด ทาบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน

             - เหง้าแห้งบดเป็นผง นำมาเคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด

             - เหง้าแก่ 1 หัวแม่มือ ล้างสะอาดบดละเอียด เติมสารส้มเล็กน้อย และน้ำมันมะพร้าวพอแฉะๆใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลพุพอง ที่หนังศีรษะ

 

ข้อควรระวัง:        

           1. การใช้ขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ  ถ้าใช้ขนาดสูงเกินไป  จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะ

             2. คนไข้บางคนอาจมีอาการแพ้ขมิ้น  โดยมีอาการคลื่นไส้  ท้องเสีย  ปวดหัว  นอนไม่หลับ  ให้หยุดยา

              3. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการอุดตันของท่อน้ำดี เช่น นิ่วในถุงน้ำดี และห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์

           4. ควรระมัดระวังในการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากเสริมฤทธิ์กัน อาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า และเลือดไหลหยุดยากได้
ปอดถือว่าเป็นอวัยวะสำคัญ เพราะเป็นอวัยวะด่านหน้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเมื่อร่างการเกิดการเจ็บป่วย จึงมีความสำคัญที่จะต้องดูแลให้ปอดแข็งแรงเสมอ โดยการศึกษาในปัจจุบันพบว่าเกิดจากการอักเสบและการที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินไป ซึ่งเป็นหนึ่งในการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นนี้อาจนำไปสู่การที่อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานล้มเหลวได้ในที่สุด

               ขมิ้นชัน หรือ ขมิ้น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่าวิตามินอีถึง 8 เท่า จึงช่วยต้านการอักเสบ และช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันแพทย์ได้มีการนำขมิ้นชันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันรวมถึงรักษาโรคเรื้อรังหลายชนิด อาทิเช่น โรคปอด โรคหลอดลมอุดตันเรื้อรัง โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็งปอด

            ในส่วนของการฟื้นฟูและบำรุงปอดด้วยขมิ้น จะช่วยให้ปอดกลับมามีสุขภาพดีขึ้นได้เมื่อรับประทานอย่างต่อเนื่อง เพราะมีสารเคอร์คูมินในขมิ้น ที่จะช่วยฟื้นฟูปอดที่เกิดจากโควิด-19 โรคปอด ปอดอักเสบ ฯลฯ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้